ภูมิประเทศ
ตั้งอยู่ในภาคพื้นแปซิฟิกตอนใต้กึ่งกลางระหว่างเส้นศูนย์สูตรและขั้วโลกใต้ห่างจากทวีปอเมริกาไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ10,400 กิโลเมตร ห่างจากออสเตรเลียไปทางตะวันออกประมาณ 1,500 กิโลเมตร อยู่ห่างจากประเทศไทยประมาณ 11,000 กิโลเมตร
พื้นที่
268,021 ตารางกิโลเมตร (ขนาดพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่น และอังกฤษ)
เมืองหลวง
กรุงเวลลิงตัน (ตั้งอยู่ทางใต้ของเกาะเหนือ)
เมืองสำคัญ
1. เมืองโอ๊คแลนด์ มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ
2. เมืองไครสต์เชิร์ช
3. เมืองดันเนอดิน
การปกครอง
ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
ประมุข
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
ผู้สำเร็จราชการ
อานันท์ สัตยานันท์
นายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีเฮเลน คลาร์ก
ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่ของนิวซีแลนด์นับถือศาสนาคริสต์สำหรับศาสนาอื่น เช่น ยิว อิสลาม ฮินดู พุทธ จะมีสถานที่สำหรับบูชาศาสนาของตนเองตามเมืองใหญ่ คริสต์ นิกาย Anglican, Prebyterian, Roman Catholic, Methodist, Baptist และอื่นๆ
ภาษา
ภาษาอังกฤษ และเมารี
หน่วยเงิน
ดอลลาร์นิวซีแลนด์
เวลา
เดินเร็วกว่าประเทศไทย 5 ชั่วโมง ยกเว้นช่วงระหว่างตอนต้นเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนมีนาคม ที่เวลาของนิวซีแลนด์จะเร็วกว่าประเทศไทยเป็น 6 ชั่วโมงเนื่องจากเป็นช่วงเวลา Day Light Saving
ประชากร
4,413,700 คน (8 ตุลาคม 2011)
ภูมิอากาศ
เป็นกึ่งเขตร้อนในตอนเหนือและแบบเขตอบอุ่น ภาคใต้ สภาพอากาศการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลามีฝนตกชุก และมีลักษณะอากาศที่ไม่หนาวจัดและไม่ร้อนจัด มี 4 ฤดู คือฤดูร้อน (ธันวาคม – กุมภาพันธ์) ฤดูใบไม้ร่วง (มีนาคม – พฤษภาคม) ฤดูหนาว (มิถุนายน – สิงหาคม) ฤดูใบไม้ผลิ (กันยายน – พฤศจิกายน) พื้นที่270,534 ตารางกิโมเตร (ขนานพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่น และอังกฤษ) ประกอบด้วย เกาะใหญ่ 2 เกาะ คือ เกาะเหนือ และเกาะใต้
รหัสโทรศัพท์
64
Address : 2 Cook Street,Karori,P.O. Box 17-226 Wellington New Zealand.
Telephone : (64-4) 476-8616-9 VOIP: 510202
Fax : (64-4) 476-3677(Chancery);(04) 476 8610 (Consular)
Website : http://www.thaiembassynz.org.nz/
Email : thaiembassynz@xtra.co.nz
นิวซีแลนด์นั้นเดิมถูกปกครองโดยชาวเมารี แต่มีนักล่องเรือชาวดัตช์ ชื่อ อเบล แอนชุน ทัสแมน ได้ล่องเรือเลียบมาทางออสเตรเลียและได้พบเกาะนิวซีแลนด์เข้า และได้พบกับชาวเมารีที่ส่วนใหญ่นั้นเป็นมิตรจึงได้ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า Nieuw Zeeland หรือ New Zealand จากนั้นชื่อเสียงของนิวซีแลนด์ก็เป็นที่รู้จักกันในยุโรป เพราะมีธรรมชาติที่สวยงามเหมาะกับการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์มาก ต่อมากัปตันเจมส์ คุก ได้ล่องเรือมาบ้าง แต่โชคดีที่มีคนบนเรือสามารถพูดภาษาไวทิงกิได้บ้าง จึงเจรจากับชาวเมารีได้ และพบว่าชาวเมารีเป็นชนเผ่าสายเลือดนับรบ จึงได้ตกลงแลกพืชพันธุ์กับอาวุธจากทางยุโรป และต่อมาเมื่อชาวเมารีมีอาวุธมากจึงสู้รบกันจนชนเผ่าเมารีลดลงทางอังกฤษ จึงได้ส่งคนมาทำสัญญา ที่มีชื่อว่า สนธิสัญญาไวทังกิ ขึ้น และส่งคนมาสำเร็จราชการแทนชื่อ วิลเลียม ฮอบสัน
นิวซีแลนด์มีวัฒนธรรม 2 แบบ คือ วัฒนธรรมคนผิวขาว ซึ่งคล้ายคลึงกับคนยุโรปและอเมริกัน และวัฒนธรรมเผ่าเมารี ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษาและเป็นวัฒนธรรมที่มีความเคร่งครัดในเรื่องขนบธรรมเนียมพิธีรีตอง
ชาวนิวซีแลนด์โดยทั่วไปเป็นคนอัธยาศัยดี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ และช่วยเหลือผู้เดินทางจากต่างประเทศ นอกจากนั้น เป็นคนที่ถือเรื่องการรักษาการนัดหมายอย่างเคร่งครัด
นิวซีแลนด์ เป็นประเทศหนึ่งในเขตแปซิฟิกที่มีการทำอุตสาหกรรม เช่น การต่อเรือ โรงงานเบียร์ไวท์ โรงงานปลากระป๋อง แต่ส่วนใหญ่การอุตสาหกรรมในนิวซีแลนด์มีน้อยมาก และ มีการทำอุตสาหกรรมการเกษตร เช่นการทำผลไม้กระป๋อง
อุตสาหกรรมการขุดแร่ เช่น ถ่านหิน เหล็ก อุตสาหกรรมป่าไม้ และ ยังมีการเพาะปลูกที่ทำให้นิวซีแลนด์มีรายได้มากส่วนหนึ่ง เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และ ผลไม้เช่น สตรอเบอรี่ และแอปเปิล เป็นต้น
อุตสาหกรรมหลัก ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ กระดาษ ปุ๋ย ซีเมนต์ แผ่นเหล็ก อลูมิเนียม เกษตรกรรมหลัก เนื้อสัตว์ (วัว แกะ ปลา) ผลิตภัณฑ์นม ขนแกะ ผักและผลไม้
ก่อนที่นักเรียนจะมาถึงนิวซีแลนด์ คุณจะต้องกรอกข้อมูลใน New Zealand Passenger Arrival Card ซึ่งจะต้อง กากบาท เลือกรายการสิ่งของที่คุณนำเข้ามาในนิวซีแลนด์ ซึ่งมีรายการต่อไปนี้
เงินสดตั้งแต่ NZ$10,000 หรือมากกว่า หรือเงินสกุลอื่นที่มีค่าเทียบเท่านี้
ถ้าเป็นไปได้ก็ควรแสดงใบเสร็จสินค้า แต่ไม่จำเป็นต้องแสดงเกี่ยวกับ เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ หรือของใช้ ซึ่งเป็นของส่วนตัวที่ใช้เอง
หลังจากที่นำกระเป๋าและสัมภาระของนักเรียนและผ่าน Customs Passport Control แล้ว นักเรียนสามารถ
นักท่องเที่ยวบางคนอาจจะถูกตรวจค้นกระเป๋า โดย
การตรวจสอบสินค้าที่อาจจะเป็นอันตราย เป็นขั้นตอนที่นิวซีแลนด์ให้ความสำคัญมาก มีการห้ามนำเข้าสินค้าบางชนิด หรือสินค้าบางชนิดที่อาจจะได้รับอนุญาตหากมีการดูแลที่เป็นไปตามเงื่อนไข หรือมีเอกสารนำเข้าที่เหมาะสม
สินค้าดังรายการต่อไปนี้ที่ต้องแสดง
นักท่องเที่ยวที่กรอกข้อมูลที่ไม่เป็นจริง และเสี่ยงต่ออันตรายจะถูกปรับได้ $200 หรือในกรณีที่ผิดต่อกฎหมายอย่างรุนแรงก็อาจจะถูกปรับได้ถึง $100,000 หรือจำคุกได้มากถึง 5 ปี
อุปกรณ์เสพกัญชา เช่น บ้องเสพกัญชา ยางกัญชาและ head pipes (hubble bubbles, hookahs = อุปกรณ์ที่ใช้เสพกัญชา) ห้ามนำเข้าประเทศซึ่งอาจจะถูกยึดได้
รัฐบาลมีข้อห้ามนำสัตว์เลี้ยง เช่น แมวและสุนัข เข้าในนิวซีแลนด์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Ministry of Agriculture and Forestry
อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ หรือ The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES) ได้กำหนดระเบียบและควบคุมการค้าสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ CITES ได้กำหนดรายชื่อสิ่งมีชีวิตและทำการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตที่มีรายชื่ออยู่ใน CITES เช่น เพชรพลอย เครื่องประดับ ของแกะสลัก ขนนกและอื่นๆ รายชื่อคร่าวๆ ได้แก่
The Department of Conservation มีอำนาจหน้าที่ในการดูแล CITES ในนิวซีแลนด์ ขณะที่กรมศุลกากรและกระทรวงเกษตรและป่าไม้ มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแล CITES ในการทำเอกสารการค้า ถ้าหากต้องการนำเข้าสัตว์ป่าใดๆ หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ป่า ต้องได้รับอนุญาตจาก Department of Conservation ในการนำเข้า ถ้าไม่ได้รับอนุญาตตอนที่นำเข้ามาแล้ว ของทั้งหมดจะถูกยึดและไม่ได้คืนไม่ว่ากรณีใดก็ตาม
ในการนำเข้าอาวุธปืนจะต้องได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดและได้รับอนุญาตจาก Police Permit to Import และห้ามนำเข้าอาวุธ เช่น มีด ดาบ knuckle-dusters (อาวุธที่ใส่ตรงข้อนิ้ว) และอาวุธอื่นๆ
ถ้านักเรียนนำยาที่มีใบสั่งจากแพทย์ หรือ ยาที่อยู่ภายใต้การควบคุม ควรจะ:
ห้ามนำเข้าของที่นำเข้ามาโดยมีจุดประสงค์ที่ไม่เหมาะสม เช่น วีดีโอเทปลามก ฟิล์ม เครื่องบันทึก และสิ่งพิมพ์ลามก ซึ่งหากนำเข้ามาก็จะถูกยึด
เครื่องส่งวิทยุและอุปกรณ์สื่อสารของบางประเทศ อาจจะส่งผลแทรกแซงเครือข่ายวิทยุและโทรทัศน์ที่มีอยู่ในนิวซีแลนด์ ก่อนที่จะซื้อหรือนำเข้า เครื่องส่งวิทยุ อุปกรณ์ไร้สาย โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ควรตรวจสอบมาตรฐานที่นิวซีแลนด์กำหนดไว้ที่ Ministry of Economic Development’s Radio Spectrum Management Group
สินค้าทุกชนิดที่นำเข้านิวซีแลนด์จะถูกตรวจสอบโดยศุลกากร แต่มีสิ่งของ 3 ประเภทที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าได้
นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถนำสิ่งที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศุลกากร แต่มีงื่อนไขคือนำไปตอนที่จะออกจากประเทศนิวซีแลนด์
เสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัว เครื่องประดับส่วนตัว (นาฬิกา) จะสามารถนำเข้าได้โดยไม่ต้องเสียภาษีสินค้าและบริการ ไม่ว่านักเรียนจะสวมใส่อยู่หรือไม่ ก็จะได้รับอนุญาต หาก
ของใช้ส่วนตัวจะครอบคลุมทั้ง ของใหม่และของมือสอง ที่นักท่องเที่ยวใช้ในระหว่างการเดินทางหรือชาวนิวซีแลนด์ที่ซื้อของมาจากการเดินทาง แต่ไม่รวมถึงเครื่องแต่งกาย (รวมถึงรองเท้า) ที่มีปริมาณมากและนำมาเพื่อการค้า
นักท่องเที่ยวต้องอายุ 17 ปีขึ้นไปจึงจะได้รับอนุญาตให้นำเหล้าและบุหรี่เข้าได้ถูกกฎหมาย นักท่องเที่ยวอาจจะนำบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกฮอล์เข้าได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศุลกากร หาก
สำหรับ ซิการ์ ยาสูบ บุหรี่ สามารถนำเข้าได้โดยจำกัดปริมาณที่
หลังจากวันที่ 1 กันยายน 2550 เปลี่ยนแปลงการอนุญาตนำแอลกฮอล์เข้า
ปริมาณที่เกินจากที่อนุญาต หรือบรรจุในภาชนะที่มากเกินกว่าที่กำหนด จะต้องเสียค่าธรรมเนียมศุลกากร Customs charges
นักท่องเที่ยวแต่ละคน จะสามารถนำสินค้าที่มีมูลค่า 700 เหรียญโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมและภาษี สำหรับเด็กเล็กสามารถนำของส่วนตัวเข้ามาได้ แต่ต้องเป็นของส่วนตัวและนำมาใช้จริงๆ ของที่นำมาจะต้อง
นักท่องเที่ยวที่มากันเป็นกลุ่มไม่สามารถแยกคิดมูลค่า 700 เหรียญเป็นต่อคนได้ ส่วนที่เกินจะต้องเสียค่าธรรมเนียม Customs charges
นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังสามารถนำสินค้าเข้าประเทศโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมศุลกากร ซึ่งมีเงื่อนไขว่า นักท่องเที่ยวจะต้องนำสินค้านั้นออกไปด้วยหลังจากที่สิ้นสุดการเดินทางแล้ว ประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้
ถ้านักท่องเที่ยวไม่สามารถนำของกลับไปด้วยได้ตอนที่เดินทางออกจากนิวซีแลนด์ กรมศุลกากรอาจจะขอให้นักท่องเที่ยวจ่ายค่ามัดจำที่ครอบคลุมภาษีสินค้าและการบริการ เงินมัดจำนี้จะคืนให้เมื่อสินค้าถูกส่งกลับไปแล้ว สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการนำยานพาหนะของตนเข้าประเทศ สามารถดูข้อมูลได้ที่ Tourist vehicles.
หากคุณนำสินค้าเชิงพาณิชย์ สินค้าเพื่อซื้อขายหรือใช้สำหรับธุรกิจของคุณ สินค้าเหล่านี้ต้องเสียภาษีสินค้าและการบริการ คุณควรกรอกข้อมูลแสดงสินค้า และเข้าทางช่อง ที่มีสินค้าต้องแสดง (ทางออกสีแดง)
หากสินค้ามีมูลค่าไม่เกิน NZ$1,000 สินค้าสามารถแสดงต่อเจ้าหน้าศุลกากร ซึ่งถูกตรวจสอบและดำเนินการให้เสร็จสิ้นได้เลยที่สนามบิน หากตัวแทนศุลกากรและตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจัดการให้มาก่อนแล้ว เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะเตรียมเอกสารให้ในนามของผู้นำเข้า
ถ้ามูลค่าสินค้ามากกว่า NZ$1,000 และคุณก็ไม่ได้จัดการตรวจสอบสินค้าล่วงหน้ามาก่อน สินค้าจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกรมศุลกากรจนกว่ากระบวนการการนำเข้าจะเสร็จสิ้น คุณไม่สามารถนำสินค้าออกจากสนามบินไปพร้อมกับคุณได้
ผู้ที่นำเงินสดติดตัวเข้าหรือออกจากประเทศนิวซีแลนด์จำนวน NZ$10,000 หรือมากกว่า (หรือเงินสกุลต่างประเทศที่มีปริมาณเท่ากัน) จะต้องกรอกข้อมูลลงใน Border Cash Report ในขณะที่เดินทางเข้า หรือผ่านกระบวนการตรวจสอบก่อนโดย The Financial Transactions Reporting Act 1996 (ตามกฎหมายจะไม่อนุญาตให้นำเข้าหรือส่งออกเงินสดมูลค่า $NZ10,000 หรือมากกว่า หากเกินก็จะต้องรายงานข้อมูล เงินสดในที่นี้ไม่รวมถึง travellers’ cheques, postal notes เงินมัดจำ หรือ money orders กรมศุลกากรจะส่งรายงานไปที่ Commissioner of Police
การให้ข้อมูลเท็จ หรือหลอกลวงเกี่ยวกับข้อมูล จะถูกปรับเงินถึง $2,000 และการกระทำที่ผิดกฎหมายขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรในการรายงานผลขอบเขตของการนำเข้าเงินสด จะถูกลงโทษจำคุก 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน $1,000
สำหรับท่านที่จะเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศและต้องการขับรถเที่ยวด้วยตัวเอง สามารถทำใบขับขี่สากล ก่อนเดินทางได้โดยไปที่กรมการขนส่งทางบก เขตจตุจักร ซึ่งสามารถติดต่อทำได้ด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปติดต่อแทนได้
ถ้าคุณเคยชินกับการขับรถในเมือง คุณต้องระมัดระวังเมื่อขับรถในเขตชนบทของนิวซีแลนด์
เรามีระบบมอเตอร์เวย์ที่ยอดเยี่ยม แต่สภาพอากาศที่ยากจะคาดเดา ภูมิประเทศ ถนนสายรองและสะพานที่ค่อนข้างแคบทำให้ผู้ขับขี่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
คุณสามารถหารายละเอียดของความแตกต่างในการขับรถในประเทศนิวซีแลนด์ได้ที่เว็บไซด์ของหน่วยงานขนส่งนิวซีแลนด์ NZ Transport Agency
คุณสามารถขับขี่รถยนต์ในนิวซีแลนด์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายนานถึง 12 เดือนหากคุณมีใบอนุญาตขับขี่จากประเทศของคุณ หรือมีบัตรอนุญาตขับขี่สากล หรือ International Driving Permit (IDP) แต่หลังจาก 12 เดือนแรกคุณต้องเปลี่ยนมาใช้ใบอนุญาตขับขี่ของนิวซีแลนด์เท่านั้น ซึ่งคุณต้องถือปฏิบัติในแต่ละครั้งของการเดินทางเข้าสู่ประเทศนิวซีแลนด์
เมื่อขับขี่ในประเทศนิวซีแลนด์ ผู้ขับขี่ทุกคนรวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติต้องพกบัตรหรือใบอนุญาตขับขี่ติดตัวตลอดเวลา คุณสามารถขับขี่ยานพาหนะชนิดเดียวกับที่ได้รับอนุญาตในประเทศของคุณเท่านั้น และคุณต้องมีอายุ 21 ปีบริบูรณ์จึงจะได้รับอนุญาตให้เช่ารถในนิวซีแลนด์ได้
อย่าลืมตรวจสอบวันหมดอายุใบอนุญาตขับขี่ของคุณ ถ้าหากใบอนุญาตของคุณไม่มีภาษาอังกฤษกำกับ คุณต้องพกเอกสารแปลเป็นภาษาอังกฤษติดตัว หรือขอใบอนุญาตขับขี่สากล (IDP) ซึ่งคุณสามารถติดต่อกรมขนส่งทางบกเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารแปลหรือใบอนุญาตขับขี่สากล
หากคุณถูกเจ้าหน้าที่จับขณะขับขี่โดยไม่มีเอกสารแปลที่ชัดเจนหรือใบอนุญาตขับขี่สากล คุณอาจถูกตั้งข้อหาขับขี่รถยนต์โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่มีใบอนุญาตที่เหมาะสม และคุณอาจจะต้องจ่ายค่าปรับตั้งแต่ 400 ถึง 1,000 เหรียญนิวซีแลนด์ถ้าหากคุณถูกตัดสินโดยศาลว่ามีความผิดจริง
เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจที่จะห้ามผู้ขับขี่ที่ไม่มีใบอนุญาตไม่ให้ขับรถจนกว่าจะมีใบอนุญาตที่เหมาะสม และหากคุณยังคงฝ่าฝืนหลังจากที่ถูกสั่งห้าม ยานพาหนะที่ใช้จะถูกยึดเป็นเวลา 28 วัน โดยผู้ขับขี่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด และคุณอาจจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
แม้ว่าประเทศนิวซีแลนด์จะมีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่การขับรถระหว่างเมือง หรือระหว่างสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่งอาจจะใช้เวลาหลายชั่วโมง เพราะระยะทางสั้นๆ อาจจะมีเส้นทางเป็นเนินเขาหรือสภาพอากาศที่ลมแรงซึ่งทำให้คุณต้องเดินทางช้าลง การเผื่อเวลาในการเดินทางจะช่วยให้คุณมีเวลาแวะพักและเพลิดเพลินกับวิวทิวทัศน์ตลอดเส้นทาง
คุณไม่ควรขับรถขณะที่รู้สึกเหนื่อย โดยเฉพาะหลังจากที่คุณเพิ่งเดินทางด้วยการบินระยะไกล และควรหยุดพักบ่อยๆ เมื่อต้องเดินทางระยะไกล หรือพักทุก 1 – 2 ชั่วโมง หรือเมื่อคุณรู้สึกง่วง
สภาพถนนแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน ถนนนอกเส้นทางไฮเวย์อาจจะขรุขระจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ถนนบางสายอาจไม่ปลอดภัยสำหรับยานพาหนะและไม่ได้รับการคุ้มครองจากบริษัทประกันภัย ซึ่งคุณควรตรวจสอบกับบริษัทประกันภัยให้บันทึกเส้นทางเหล่านี้บนแผนที่ก่อนออกเดินทาง
ถนนในฤดูหนาวอาจจะมีสภาพที่คาดเดาลำบากเนื่องจากน้ำแข็งหรือหิมะที่ปกคลุมบนผิวการจราจรโดยเฉพาะเส้นทางรอบๆ ภูเขา หมั่นระวังด้วยการสังเกตป้ายจราจรข้างทางที่คอยเตือนถึงพื้นผิวถนนลื่นในฤดูหนาว หรือเตือนให้ขับช้าลง และห้ามเบรคกะทันหันบนพื้นผิวถนนที่มีน้ำแข็งเกาะ โซ่อาจจำเป็นในบางกรณี (แต่มักเป็นอุปกรณ์เสริมที่มากับรถเช่าอยู่แล้ว) แต่ต้องแน่ใจว่าคุณเข้าใจวิธีการใช้เมื่อต้องใช้งาน
โทรศัพท์มือถือ
ท่านที่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถนำเครื่องโทรศัพท์ของท่านไปใช้ได้ โดยต้องติดต่อขออนุญาต เปิดเครื่องต่างประเทศกับทางบริษัทของระบบมือถือของท่าน
โทรศัพท์สาธารณะ
โทรศัพท์สาธารณะส่วนมากจะใช้บัตร บัตรมีมูลค่า 5,10,20 หรือ 50 NZD สำหรับการโทรศัพท์ภายในเขตเดียวกันไม่ต้องใช้รหัสเขต และจะเสียค่าโทรศัพท์นาทีละ 20 เซนต์ นอกเมืองยังใช้หยอดเหรียญ ใช้เหรียญ 20 เซนต์ โทรกลับเมืองไทย กด 00+66+รหัสเมือง/มือถือ+หมายเลข
Thailand Direct เก็บเงินปลายทาง 000-966+รหัสเมือง + หมายเลข
Internet Wifi /4G
โดยทั่วไป โรงแรมในนิวซีแลนด์ จะมีให้บริการ Wifi ใน บริเวณ Lobby ของโรงแรม
หากท่านต้องการใช้งาน Internet ในห้องพัก อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โปรดสอบถามเจ้าหน้าที่ของโรงแรม หรือ ซื้อ SIM Card โทรศัพท์ ซึ่งแต่ล่ะเครือข่ายก็จะมีแพ็คเกจที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยว อาทิ
หรือ Pocket Wifi การเช่าเครื่อง Pocket Wifi อีกทางเลือกที่นิยม โดยท่านสามารถจองผ่านเว็บไซด์ได้ที่ http://www.pocwifi.com/Page_New/Index.aspx โดยสามารถรับและคืนเครื่อง ที่สนามบินได้